วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โรคจุดขาว

โรคจุดขาว
          เป็นโรคที่เกิดจาก โปรโตซัวกลุ่ม Ciliate protozoan ชื่อว่า Cryptocaryon irritans ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเล็ก ๆ กระจาย อยู่ทั่วลำตัวและครีบ โดยจุดสีขาวเหล่านั้นจะฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นนอกของลำตัว และเหงือก ทำให้ดูคล้ายกับการปะแป้ง ซึ่งสาเหตุของโรคนี้คือโปรโตซัวนั้นจะ กินเซลล์ผิว หนังเป็นอาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวลงสู่บริเวณ ก้นตู้ปลา และ สร้างเกราะหุ้มตัว ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมาก เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสมเกราะหุ้ม ตัวจะแตกออกและตัวอ่อนของ พยาธิจะว่ายน้ำเข้าเกาะตามผิวหนังของปลาต่อไป พบโรคนี้กับปลาหลายชนิด  ปลาที่เป็นโรคจุดขาวจะมีอาการว่ายทุรนทุราย หายใจถี่ เอาลำตัวถูกับหิน ผู้เลี้ยงไม่ควรนำผ้าเช็ดจุดขาวออก แมว่าจะทำให้จุดขาวบางส่วนหลุดออก แต่ก็จะยิ่งทำให้เกิดบาดแผลลึกบนตัวปลาซึ่งอาจทำให้เกิกการติดเชื้อเป็นอันตรายยิ่งไปกว่าเดิม





การปัองกันและรักษา
          - ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชม. สำหรับ ปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม.

          - มาลาไค้ท์กรีน 1.0-1.25 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1/2 บม. สำหรับปลาขนาดใหญ่ หรือ 0.15 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชม. หรือ เมททิลีนบลู 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน

          - Copper sulfate หรือ จุนสี สามารถรักษาการติดเชื้อโรคจุดขาวได้ โดยความเข้มข้นของ copper ion ในน้ำที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (therapeutic level) ประมาณ 0.15 – 0.20 ppm เป็นระยะเวลา 28 วัน หากความเข้มข้นต่ำกว่านี้จะไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ หากความเข้มข้นสูงกว่านี้ อาจส่งผลให้ปลาตายได้

          -  การเพิ่มอุณหภูมิ อยู่ที่ 28-30 องศาเซลเซียส จะช่วยให้วงรอบชีวิตเร็วขึ้น กล่าวคือทำให้เชื้อเกิดการแตกออกจากแคปซูลได้เร็วขึ้นและถูกทำลาย หรือการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน วันละ 10% จะช่วยให้จำนวนเชื้อลดลง ในกรณีที่ตู้มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถใส่ยาและเปลี่ยนน้ำเป็นจำนวนมากได้ทุกวัน




การเกิดโรคในปลาทะเล

ปัจจัยในการเกิดโรคในปลาทะเล




               สาเหตุหลัก  ในการเกิดโรคกับปลาทะเลประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยคือ ปลา เชื้อโรค และสิ่งแวดล้อม  โดยหากปัจจัยทั้งสามนี้ประกอบกันอาจเกิดโรคกับปลาที่เราเลี้ยง ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรควบคุมดูแลปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกับปลาทะเล ทั้ง 3 ปัจจัยอย่างใกล้ชิด เช่น เวลาเลือกปลามาเลี้ยงควรเลือกปลาที่แข็งแรงไม่เป็นโรค ไม่มีปลาป่วยหรือปลาตายรวมอยู่ในตู้ของปลาที่เราจะซื้อมาเลี้ยง อุปกรณ์ต่างๆที่เรานำมาใช้ในการเลี้ยงปลาต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีความสะอาด และสุดท้ายเราต้องดูแลสภาพแวดล้อมต่างๆในการเลี้ยงปลาให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น pH, อุณหภูมิ, ความเค็ม, แอมโมเนีย, ไนไตรท์ และ ไนเตรท เป็นต้น


              โรคติดต่อในปลาทะเลที่เกิดขึ้นนั้น หากเราละเลยปล่อยให้ปลาที่เลี้ยงเกิดโรคขึ้นแล้ว การรักษาให้หายหรือทำให้ปลารอดนั้นทำได้ค่อนข้างยากเนื่องจากว่า เชื้อโรคนั้นสามารถแพร่กระจายไปสู่ปลาตัวอื่นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการดูแลเอาใจใส่ในการป้องกันโรค ควบคุมปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยที่เป็นสาเหตุในการทำให้เกิดโรคกับปลา จะเป็นการดีที่สุดในการป้องกันโรคติดต่อที่จะเกิดขึ้น

            การรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับปลาทะเล คือเราต้องนำปลาที่เกิดโรคออกมาเลี้ยงแยก เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายไปยังปลาตัวอื่น ตั้งอุณหภูมิของ Heater ให้คงที่ไว้ที่ 29-30 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งวัน จากนั้นใช้สารเคมีให้ตรงกับโรคที่เกิดขึ้น หากพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพของน้ำ เช่น น้ำขุ่น มีตะกอนควรทำการเปลี่ยนน้ำทันที และระหว่างการรักษาปลาในตู้พยาบาลนั้นควรมีการถ่ายน้ำอยู่เป็นประจำเพื่อทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในน้ำนั้นเจือจางลง 







Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More