วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการให้อาหารปลาทะเล

เทคนิคการให้อาหารปลาทะเล 

            อาหาร เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ปลาทะเลเจริญเติบโต มีสีสันสดใส ผู้เลี้ยงปลาทะเลส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจกันมากนัก ต่อไปนี้คือเทคนิคในการให้อาหารปลาทะเล ที่จะทำให้ปลาทะเลของคุณแข็งแรง สวยงามและ ปราศจากโรคต่างๆ



จำนวนมื้อของปลาทะเล

           ปลาทะเลควรจะกินอาหารวันละ 1-2 มื้อเท่านั้น ไม่ควรให้มากกว่านี้ เนื่องจากตามธรรมชาติของปลาทะเลนั้นจะหา อาหารเอง บางครั้งถึงหาไม่ได้ ก็ไม่ได้กินอะไรยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้


ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ

           ปริมาณอาหารนั้นควรให้ในปริมาณที่เหมาะสม เพียงพอกับขนาดตัวและชนิดของปลาทะเลนั้นๆ ไม่ควรให้เยอะหรือบ่อยจนเกินไป เพราะอาหารที่เหลือ อาจทำให้น้ำเน่าได้ ซึ่งทำให้น้ำสกปรกและเกิดโรคกับปลาได้ 

การควบคุมเวลาในการให้อาหาร

            การให้อาหารปลาทะเล ควรหัดให้กินอาหารเป็นเวลา ไม่ใช่ให้กินพร่ำเพรื่อตลอดเวลา ควรมีเวลาที่แน่นอนในการให้อาหาร จะได้สะดวกกับคนเลี้ยง

ควรให้ปลาทะเลออกกำลังกายบ้าง

            การให้อาหารสดแก่ปลาทะเล เช่น ไรทำเล หนอนแดงสด บ้างซึ่งจะทำให้ปลาทะเลว่ายไล่กินอาหารเป็นการออกกำลังแต่ปลาทะเลอีกทั้งคนเลี้ยงยังได้นั่งดูปลาทะเลแหวกว่ายไปในตู้ ซึ่งทำให้เห็นความสวยงามของปลา แต่การให้อาหารสดนั้น ควรเลือกอาหารที่มีความสะอาดด้วย





วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เตรียมตัวก่อนเลี้ยง


การเตรียมตัวก่อนเลี้ยงปลาทะเล


      

ขั้นที่ 1 การเตรียมและตรวจสอบอุปกรณ์

            ตู้ปลาสำหรับการเลี้ยงปลาทะเลนั้นควรมีความหนาพอสมควรเนื่องจากน้ำทะเลจะมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ สำหรับการทำความสะอาดตู้ควรต้องทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าและฟองน้ำหรือผ้าเท่านั้น ห้ามใช้สารเคมี ทดสอบตู้โดยการเปิดอุปกรณ์ทั้งหมด เป็นโดยรันระบบไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง เช็ครอยรั่วซึม และอุปกรณ์ทั้งหมดว่าทำงานเป็นปกติดีหรือไม่

ขั้นที่ 2 การเตรียมน้ำทะเล

          - ใช้น้ำทะเล โดยสามารถซื้อได้จากร้านปลาทะเลทั่วไป
          - ใช้น้ำเกลือผสม ผสมตามอัตราส่วนที่ข้างถุง แล้วใช้หัวทรายเป่าทิ้งไว้ 1 คืน



ขั้นที่ 3 การเตรียมระบบ

            เติมน้ำที่เตรียมไว้ลงในตู้ และเปิดระบบอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อให้ระบบเซ็ตเข้าที่

ขั้นที่ 4 การเตรียมหินเป็น
            ควรเลือกใช้หินเป็นที่บำบัดมาแล้ว และเป็นหินเป็นที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และเลือกลักษณะตามที่ตนเองออกแบบ

        
ขั้นที่ 5 การรอระบบเซทตัว

            ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก โดนขั้นตอนนี้จะใช้เวลาตั้งแต่ 3 -8 อาทิตย์ ขึ้นกับสภาพของหินเป็น เริ่มต้นโดยการเติมแบคทีเรีย เศษอาหาร หรือกุ้งตายลงไปในตู้ จากนั้นเช็คค่าน้ำทุกอาทิตย์ โดยเฉพาะ ammonia, nitrite และ nitrate รอจนกระทั่งระบบเซทตัวเองให้สมบูรณ์ โดยค่า ammonia, nitrite และ nitrate ต้องมีค่าเป็น 0 จึงสามารถลงปลาได้

      


ขั้นที่ 6 ศึกษาและวางแผนการเลือกสิ่งมีชีวิต

            การเลือกชนิดของปลาควรขึ้นกับความพร้อมของผู้เลี้ยง เวลาในการดูแล และความพร้อมของตู้ เพราปลาแต่ละชนิดมีความต้องการที่ต่างกัน บางชนิดเลี้ยงง่าย บางชนิดเลี้ยงและดูแลยากตู้อาจต้องมีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
ขั้นที่ 7 การลงทรายเป็นและเศษปะการัง

            ปิดระบบและอุปกรณ์ ทุกอย่าง ตักน้ำในตู้ออก จากนั้นลงทรายเป็นและเศษปะการัง เช็คค่าน้ำต่างๆ ให้ เป็นปกติ



ขั้นที่ 8 การลงปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

            เช็คระบบทุกอย่างให้เรียบร้อย และค่าน้ำรวมไปถึงอุณภูมิ ความเค็ม ฯลฯ เริ่มต้นควรเลือกปลาที่ดูแลง่าย เพื่อเช็คระบบในตู้ และให้แน่ใจว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถอยู่ได้ จึงสามารถลงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นต่อไป

ขั้นที่ 9 การดูแลและรักษาสิ่งมีชีวิตในตู้

            หมั่นดูแล เอาใจใส่ และสังเกตุสิ่งมีชีวิตต่างๆในตู้ว่ามีสิ่งใดผิดปกติหรือไม่ เช็คค่าน้ำ และบำรุงรักษาเครื่องมืออยู่เสมอ และดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิต

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Protein Skimmer (โปรตีนสกิมเมอร์)


Protein Skimmer (โปรตีนสกิมเมอร์)

          สำหรับ วงการคนเลี้ยงปลาทะเลคงไม่มีใครไม่รู้จักกับอุปกรณ์ตัวนี้ ซึ่งก็คือ Protein Skimmer (โปรตีนสกิมเมอร์) ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดสารอินทรีย์ที่อยู่ในตู้ปลาโดยกระบวนการทางกายภาพ ก่อนที่จะสารอินทรีย์และโปรตีนจะสลายตัวไปเป็น สารประกอบจำพวกไนโตรเจน ซึ่งทำให้เป็นอันตรายกับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในตู้ปลา


Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More